เมนู

อนึ่ง ภิกษุใด ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุ
ทั้งหลายแล้ว ไม่กล่าวคืนสิกขา ไม่ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล
พึงเสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในดิรัจฉานตัวเมีย ภิกษุนี้เป็น
ปาราชิก หาสังวาสมิได้.

[วินัย 4 อย่าง]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกเนื้อความแห่งสิกขาบท
นั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า "โย ปนาติ โย ยาทิโส."
ก็พระวินัยธร ผู้ปรารถนาความเป็นผู้ฉลาดในสิกขาบท วิภังค์แห่ง
สิกขาบทนั้น และวินิจฉัยทั้งสิ้น ควรทราบวินัย 4 อย่าง.
จริงอยู่ พระธรรมสังคาหกมหาเถระ
ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มากในปางก่อน ได้นำวินัย
4 อย่างออกเปิดเผยแล้ว.

วินัย 4 อย่างเป็นไฉน ? วินัย 4 อย่างคือ สูตร สุตตานุโลม
อาจริยวาท อัตตโนมติ ซึ่งพระนาคเสนเถระหมายเอากล่าวไว้ (ในมิลินท-
ปัญหา) ว่า มหาบพิตร! เนื้อความอันกุลบุตรพึงรับรองด้วยบทดั้งเดิมแล
ด้วยรส ด้วยความเป็นวงศ์แห่งอาจารย์ ด้วยความอธิบาย.

[อรรถาธิบายวินัย 4 อย่าง

]
จริงอยู่ บรรดาคำเหล่านี้ คำว่า อาหัจจบท ท่านประสงค์เอา
สูตร. คำว่า "รส" ท่านประสงค์เอาสุตตานุโลม. คำว่า "อาจริยวงศ์" ท่าน
ประสงค์เอาอาจริยวาท. คำว่า "อธิบาย" ท่านประสงค์เอาอัตโนมัติ.
1. วิ. มหา. 1/42. 2. นัย- มิลินทปัญหา 203.

บรรดาวินัย 4 อย่างนั้น ที่ชื่อว่า สูตร ได้แก่บาลีในวินัยปิฎกทั้งมวล.
ที่ชื่อว่า สุตตานุโลม ได้แก่มหาประเทศ 4 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้
ว่า:-
(1) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งใด เรามิได้ห้ามไว้ว่า 'สิ่งนี้ไม่ควร'
ถ้าสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ ขัดกันกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ, สิ่งนั้น ไม่ควร
แก่ท่านทั้งหลาย
(2) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งใด เรามิได้ห้ามไว้ว่า 'สิ่งนี้ไม่ควร'
ถ้าสิ่งนั้นเข้ากันกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ ขัดกันกับสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ, สิ่งนั้นควร
แก่ท่านทั้งหลาย
(3) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งใด เรามิได้อนุญาตไว้ว่า 'สิ่งนี้ควร'
หากสิ่งนั้นเข้ากันกับสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ ขัดกันกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ, สิ่งนั้น ไม่
ควรแก่ท่านทั้งหลาย
(4) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งใด เรามิได้อนุญาตไว้ว่า 'สิ่งนี้ควร'
หากสิ่งนั้นเข้ากันกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ ขัดกันกับสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ, สิ่งนั้น ควร
แก่ท่านทั้งหลาย.*
ที่ชื่อว่า อาจริยวาท ได้แก่แบบอรรถกถา ซึ่งยังวินิจฉัยท้องเรื่องให้
เป็นไป นอกจากบาลี ซึ่งพระอรหันต์ 500 องค์ ผู้เป็นธรรมสังคหกะตั้งไว้.
ที่ชื่อว่า อัตโนมัติ ได้แก่คำที่พ้นจากสูตร สุตตานุโลม และอาจริย-
วาท กล่าวตามอาการที่ปรากฏด้วยอนุมาน คือ ด้วยความตามรู้แห่งตน ด้วย
การถือเอานัย ด้วยการถือเอาใจความ. อีกนัยหนึ่ง เถรวาทแม้ทั้งหมด ที่มา
ในอรรถกถาแห่งพระสูตร พระอภิธรรม และพระวินัย ชื่อว่า อัตตโนมัติ.
* วิ. มหา 5/321

[วิธีสอบสวนสูตรและสุตตานุโลมเป็นต้น]


แต่กุลบุตร ผู้อ้างอัตโนมัตินั้นกล่าว ไม่ควรจะยึดถือให้แน่นแฟ้น
กล่าว ควรกำหนดเหตุเทียบเคียงบาลีกับเนื้อความ และเนื้อความกับบาลี
แล้วจึงกล่าว. อัตโนมัติ ควรสอบสวนดูในอาจริยวาท ถ้าลงกันและสมกัน
ในอาจริยวาทนั้นไซร้, จึงควรถือเอา ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา.
จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า อัตโนมัตินี้ ยังเป็นของทรามกำลังกว่าทุกอย่าง. อาจริยวาท
มีกำลังกว่าอัตโนมัติ. แม้อาจริยวาทก็ควรสอบสวนดู ในสุตตานุโลม เมื่อ
ลงกัน สมกันแท้ ในสุตตานุโลมนั้น จึงควรถือเอา, ฝ่ายที่ไม่ลงกัน ไม่สมกัน
ไม่ควรถือเอา. เพราะว่า สุตตานุโลม เป็นของมีกำลังกว่าอาจริยวาท. แม้
สุตตานุโลม ก็ควรสอบสวนดูในสูตร เมื่อลงกันสมกันแท้ ในสูตรนั้น จึง
ควรถือเอา, ฝ่ายที่ไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา. เพราะว่าสูตรเท่านั้น
เป็นของมีกำลังกว่าสุตตานุโลม. จริงอยู่ สูตรเป็นของอันใคร ๆ แต่งเทียม
ไม่ได้ เป็นเหมือนสงฆ์ผู้ทำ เป็นเหมือนกาลที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังทรง
พระชนม์อยู่. เพราะฉะนั้น เมื่อใดภิกษุสองรูป สากัจฉากัน, สกวาทีอ้าง
สูตรกล่าว, ปรวาทีอ้างสุตตานุโลมกล่าว เมื่อนั้น ทั้งสองรูปนั้น ไม่ควรทำ
การเพิดเพ้ยหรือติเตียนกันและกัน ควรสอบสวนสุตตานุโลมในสูตร ถ้าลงกัน
สมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ใน
สูตรเท่านั้น.
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างสูตรกล่าว, ปรวาทีอ้างอาจริยวาทกล่าวไซร้, แม้
ทั้งสองรูปนั้น ก็ไม่ควรทำการเพิดเพ้ย หรือติเตียนกันและกัน ควรสอบสวน
อาจริยวาทในสูตร ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา. เมื่ออาจริยวาท ไม่ลงกัน
และไม่สมกัน ทั้งเป็นข้อที่น่าตำหนิ ก็ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น.